ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

[Food not Bombs Thailand] Re: บทความน่าอ่านว่าด้วยเรื่อง การกระจายรายได้



 
From: Suluck Lamubol <suluck@gmail.com>
Date: ก.ค. 17, 2009 6:48 หลังเที่ยง
Subject: [Food not Bombs Thailand] Re: บทความน่าอ่านว่าด้วยเรื่อง การกระจายรายได้
To: food-not-bombs-thailand@googlegroups.com

ก๊อปมาให้อ่านมาให้ไม่หมดจ้ะ คลิกไปอ่านต่อในลิงค์นะจ๊ะๆ
"เพราะเราต้องการอาหาร ไม่ใช่ระเบิด"

2009/7/17 Food Not Bombs Thailand <fnb.bkk@gmail.com>

เพราะเราต้องการเอาเงินมาดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนมากกว่าเอาไปซื้อระเบิดทำสงคราม และการที่จะทำให้คนมีความเป็นอยู่ดีเท่าๆกันถ้วนหน้า  ก็ต้องมาจากการเก็บภาษีอย่างกระจายและก้าวหน้า เพื่อจะได้เอาเงินไปจัดสวัสดิการให้ประชาชนนะจ๊ะๆ

http://www.prachatai.com/journal/2009/07/24929

สัมภาษณ์ ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล: “ภาษีที่ดิน” กับ “ความเป็นธรรม” และ “การกระจายรายได้”

Thu, 2009-07-02 01:48

ผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าที่ดินรายใหญ่ซึ่งในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นนักการเมืองผู้พิจารณากฎหมายไปด้วย ทำให้ในขณะนี้เส้นทางของการออกกฎหมายใหม่เพื่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดูจะไม่ราบลื่นนัก และคงต้องติดตามกันต่อไปถึงแผนที่ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง วางแผนจะชงกฎหมายเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือน ส.ค.นี้ ตามด้วยการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่ากฎหมายนี้จะออกหัว-ออกก้อย หรือจะมีการล้มกระดานกันไปอย่างไม่ให้ต้องได้ลุ้น

อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีความสำคัญ นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบภาษีให้ไปสู่การจัดเก็บภาษีที่ก้าวหน้า มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมแล้ว ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือความคาดหวังที่ว่ามาตรการภาษีดังกล่าวจะมาช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยในปัจจุบัน

โครงการวิจัยเรื่อง “นโยบายและมาตรการทางการคลังเพื่อความเป็นธรรมในการกระจายรายได้” คืองานศึกษาชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ยืนยันภาพความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวยในสังคมไทยที่สะท้อนผ่านการถือครองที่ดินซึ่งยังคงกระจุกตัวอยู่กับคนเพียงบางกลุ่ม และคนเหล่านี้นี้ก็ถือครองรายได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมด ทั้งนี้ การศึกษายังพบว่า “นโยบายด้านภาษี” อย่างการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะสามารถพัฒนาโครงสร้างทางการคลังเพื่อนำไปสู่ภาวการณ์กระจายรายได้ที่ดีขึ้นได้

เพื่อทำความรู้จักกับ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ในฐานะ “มาตรการการคลัง” ที่จะมาช่วยสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ “ประชาไท” ขอนำเสนอบทสัมภาษณ์ ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในทีมทำงาน พร้อมคำถามสำคัญถึงความเป็นไปได้ที่กฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับปัจจุบันจะนำไปสู่เป้าหมายของการกระจายการถือครองที่ดิน เพื่อความเป็นธรรมตามแนวทางการปฏิรูปที่ดิน ดังความมุ่งหวังของใครหลายๆ คนได้หรือไม่ อย่างไร

ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หนึ่งในผู้ศึกษา โครงการวิจัยเรื่อง “นโยบายและมาตรการทางการคลังเพื่อความเป็นธรรมในการกระจายรายได้”

00000


“ข้อมูลที่ได้มาคือ ผู้ถือครองที่ดินมากที่สุด 50 อันดับแรก 
และ 50 อันดับสุดท้ายที่ถือครองที่ดินน้อยที่สุด 
ในรายที่มีการถือครองที่ดินน้อยที่สุดมีที่ดินเพียง 0.1 ตารางวา 
ส่วนผู้ที่ถือครองที่ดินมากที่สุดในกรุงเทพฯ อันดับหนึ่ง 
ถือครองที่ดิน 14,776 ไร่ 1 งาน 39.7 ตารางวา”


00000

 

คุยเรื่องงานวิจัยคร่าวๆ
ผศ.ดร.ดวงมณี : งานวิจัยที่ผ่านมาทำเรื่อง “นโยบายและมาตรการทางการคลังเพื่อความเป็นธรรมในการกระจายรายได้” เสนอสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะทำงานการกระจายรายได้ทีมี อ.ณรงค์ (ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) เป็นประธานชุดอยู่ โดยงานศึกษาพูดถึงภาษีหลักๆ 4 ตัว คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีมรดก ภาษีสิ่งแวดล้อม และภาษีกำไรจากส่วนเพิ่มของทุน (Capital gain tax) แต่ที่มีการศึกษาในรายละเอียดก็คือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างว่ามีผลอย่างไรต่อการกระจายรายได้บ้าง เป็นการศึกษาในเชิงเศรษฐศาสตร์โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini Coefficient) ใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน มาทำการวิเคราะห์

การศึกษาดูในเชิงว่าการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผลต่อการกระจายรายได้มากน้อยแค่ไหน และอีกส่วนหนึ่งที่ศึกษาคือการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นอยู่ในขณะนี้มีการกระจุกตัวมากน้อยแค่ไหน แต่เนื่องจากว่าข้อมูลของกรมที่ดินเองยังทำไม่ครบ ซึ่งก็มี Pilot project อยู่บางจังหวัด จึงได้ข้อมูลแค่ในบางจังหวัด และเนื่องจากเวลาในการศึกษาค่อนข้างน้อยจึงได้ทำการศึกษาข้อมูลของกรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียว ซึ่งข้อมูลที่ได้มาคือ ผู้ถือครองที่ดินมากที่สุด 50 อันดับแรก และ 50 อันดับสุดท้ายที่ถือครองที่ดินน้อยที่สุด

ในรายที่มีการถือครองที่ดินน้อยที่สุดมีที่ดินเพียง 0.1 ตารางวา ส่วนผู้ที่ถือครองที่ดินมากที่สุดในกรุงเทพฯ อันดับหนึ่ง ถือครองที่ดิน 14,776 ไร่ 1 งาน 39.7 ตารางวา โดยข้อมูลจากกรมที่ดินนี้เป็นการถือครองที่ดินของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งรวมทั้งหน่วยงานรัฐต่างๆ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยไม่มีการเปิดเผยว่าอันดับหนึ่งคือใคร แต่คิดว่าที่ดินกว่า 14,776 ไร่นี้ มูลค่าคงเยอะมาก นอกจากนั้นได้มีการศึกษาที่ดินที่มีราคาแพง เช่น ในเขตสัมพันธวงศ์ บางรัก ปทุมวัน ว่ามีการกระจายการถือครองที่ดินอย่างไร 
 

ตาราง 1 การถือครองที่ดินทั้งประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในกรุงเทพฯ
ที่ถือครองที่ดินมากที่สุด 50 อันดับ และต่ำสุด 50 อันดับ ในปี 2551

ลำดับ
เนื้อที่มาก
เนื้อที่น้อย
ลำดับ
เนื้อที่มาก
เนื้อที่น้อย
ไร่
งาน
ตารางวา
ตารางวา
ไร่
งาน
ตารางวา
ตารางวา
1
14,776
1
39.7
0.1
26
1,035
1
23.2
2.6
2
11,136
<div align="right" style="margin-top: 0px; margin-right: 0px; margin-bottom: 0.0001pt; margin-left: 0px; padding-top: 0px; padding-right: 0px; padding-bottom: 0px; padding-left: 0px; border-top-width: 0px; border-right-width: 0px; border-bottom-width: 0px; border-left-width: 0px; border-style: initial; bo



--
Suluck Lamubol (Fai)

Chulalongkorn University
Student Federation of Thailand

Email: Suluck@gmail.com
MSN: suluck_fai@hotmail.com
Skype: fai.suluck
 

--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
You received this message because you are subscribed to the Google Groups "Food not Bombs Thailand" group.
To post to this group, send email to food-not-bombs-thailand@googlegroups.com
To unsubscribe from this group, send email to food-not-bombs-thailand+unsubscribe@googlegroups.com
For more options, visit this group at http://groups.google.com/group/food-not-bombs-thailand?hl=en
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---



--
ขอเชิญอ่าน  blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://dbd-52.hi5.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น