วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11454 มติชนรายวัน
อันตรายของ"สื่อ"ร่วมมือ"รัฐ" สร้าง"ความเชื่อ"ให้เป็น"ความจริง"
คอลัมน์ สยามประเทศไทย
โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
![]() |
อ้างอยู่ในบทความเรื่องหัวใจของสื่อต้องไม่คับแคบ โดย ดร. วิลาสินี พิพิธกุล (คอลัมน์เสียงสตรี ใน โพสต์ ทูเดย์ ฉบับวันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม 2552 หน้า C4) แล้วยังอ้างอีกว่า
"นักข่าวเองเป็นผู้มีส่วนประกอบสร้างและยกระดับให้ความเชื่อขยายกว้างจนถูกทำให้กลายเป็นความจริง" (สัตยา สีวรมัน นักข่าวอาวุโสชาวอินเดีย)
ข้อความที่ยกมาล้วนมุ่งแก้ไขความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองที่สื่อมีส่วนกระตุ้นทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ
แต่ผมชอบจะยกมาใช้งานด้านสังคมวัฒนธรรม ที่สื่อเห็นแก่ความเชื่อมากกว่าความจริง แล้วยกระดับให้ความเชื่อกลายเป็นความจริง เช่น ความเป็นไทยแท้แต่โบราณมีจริง เริ่มจากยุคสุโขทัย เป็นต้น
![]() ปฏิเสธไมได้เลยว่า "คนชั้นกลาง" ผู้เคยผูกขาดพื้นที่ทางการเมืองมาหลายทศวรรษ กำลังถูกท้าทายจาก "คนชั้นล่าง" ซึ่งเริ่มมีจิตสำนึกทางชนชั้น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นจึงอุบัติขึ้นอย่างยากจะหลีกเลี่ยง จากหมายเหตุดังกล่าว รุดเร่งให้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการผู้คร่ำหวอดการเมืองไทยประณามความคิดในการล้มล้างความแตกต่างด้วยอคติและความรุนแรง พร้อมตั้งคำถามถึงความตื่นตัวของคนทุกระดับ โดยเฉพาะคนชั้นกลางระดับล่าง อันเป็นเสมือนภาพรวมในอนาคตของการเมืองยุคใหม่ ทั้งยังทำนายปรากฏการณ์ทางสังคมในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอีกด้วย |
ความเป็นไทยแท้ๆแต่โบราณหรือยุคไหนๆก็ไม่มีจริง และไม่ได้เริ่มต้นยุคสุโขทัย เพราะสุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย
แท้จริงแล้วความเป็นไทยมีขึ้นจากการประสมประสานทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมในสุวรรณภูมิและอุษาคเนย์ แล้วสมมุติเรียกว่า "ไทย" เมื่อหลัง พ.ศ.1600 ลงมา แต่มีหลักฐานแน่นอนในยุคกรุงศรีอยุธยาราวหลัง พ.ศ.2000
ฉะนั้น ทั้งชวา-มลายู, มอญ-เขมร, ม้ง-เย้า, มาเลย์-จาม, และลาว ล้วนมีส่วนเป็นบรรพชน "คนไทย" และเป็นต้นเค้าความเป็นไทยทุกวันนี้
นอกจากสุโขทัยจะไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทยแล้ว รัฐสุโขทัยยังเป็นรัฐขนาดเล็ก มีดินแดนใต้สุดอยู่แค่เมืองพระบาง จ. นครสวรรค์ เท่านั้น ไม่เคยมีอำนาจลงไปถึงปัตตานี-มลายู อย่างที่สื่อชอบโมเมตามความเชื่อผิดๆที่รัฐป้อนให้ แล้วผลิตซ้ำให้กลายเป็นความจริง
ส่งผลให้คนทั่วไปสนับสนุนการแก้ปัญหาภาคใต้ด้วยการเพิ่มกำลังทหารลงไปปราบปรามเด็ดขาด แล้วมองข้ามความสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ดังหมอประเวศ วะสี ทักท้วงว่า
"ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลในขณะนี้ ที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ รัฐบาลก็จะส่งรัฐมนตรีและเพิ่มกำลังทหารลงไปในพื้นที่ ซึ่งคิดว่าเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้อง วิธีเช่นนี้เป็นการแก้ปัญหาแบบไม่เข้าใจในวิถีชุมชนของชาว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
การแก้ปัญหาด้วยกำลังและอำนาจเป็นแนวทางไม่ถูกต้อง รัฐบาลควรจะใช้ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านรวมตัวกันแก้ไขปัญหาของตนเอง โดยตั้งเป็นสภาผู้นำชุมชนมาบริหารจัดการชุมชนตนเอง จะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีในการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น" (มติชน ฉบับวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2552 หน้า 22)
ฉะนั้น ที่กระทรวงวัฒนธรรมจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมปัตตานีย้อนยุคสู่สันติสุขแดนใต้ แล้วเชิญสื่อไปดูด้วยเพื่อขอให้เสนอข่าวกิจกรรมความเชื่อของรัฐบาลให้เป็นความจริง จึงเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เสมือนคำโบราณว่า "ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ" แล้ว "ขี่ช้างจับตั๊กแตน"
พราะทั้งกระทรวงฯและสื่อต่างมีความเชื่อไปในทางเดียวกันว่า ดินแดนรัฐปัตตานีเป็นของรัฐสุโขทัย โดยพวกมลายูปัตตานีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าแผ่นดินรัฐสุโขทัย ทั้งๆ ไม่จริง
เรื่องจริงตามพยานหลักฐานคือรัฐปัตตานีมีพัฒนาการก่อนรัฐสุโขทัยเกือบพันปี ครั้นมีรัฐสุโขทัยแล้วรัฐปัตตานีก็ยังเป็นเอกเทศมาตลอดเวลายาวนานมาก จนถูกโจมตีแล้วยึดครองโดยกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อราว 200 ปีที่แล้ว
หน้า 21
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra03200752§ionid=0131&day=2009-07-20
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
www.patani-conference.net
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น