ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552

[Food not Bombs Thailand] Fwd: ความปัญญาอ่อนของ เอ็นจีโอ เรื่อง ASEAN



 
จาก: Suluck Lamubol <suluck@gmail.com>
วันที่: ตุลาคม 24, 2009 11:27 หลังเที่ยง
หัวเรื่อง: [Food not Bombs Thailand] Fwd: ความปัญญาอ่อนของ เอ็นจีโอ เรื่อง ASEAN
ถึง: food-not-bombs-thailand@googlegroups.com, prakaifire@googlegroups.com




 
From: ji ungpakorn <ji.ungpakorn@gmail.com>
Date: 2009/10/24
Subject: ความปัญญาอ่อนของ เอ็นจีโอ เรื่อง ASEAN
To: turnleft@googlegroups.com


ความปัญญาอ่อนของ NGO กรณี องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน

ใจ อึ๊งภากรณ์

อาเซียน (ASEAN) ประกอบไปด้วย ประเทศไทย เวียดนาม ลาว เขมร พม่า และสิงค์โปร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเผด็จการ  นอกจากนี้มีประเทศกึ่งเผด็จการแบบมาเลยเซีย  และมีฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประชาธิปไตย  จะมีใครบ้างในโลกที่ฝันว่ารัฐบาลของประเทศเหล่านี้จะสร้างองค์กรสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง? คำตอบคือ พวก NGO

แต่ไม่ว่า NGO จะฝันไปถึงไหน เขาก็โดนตบหน้าจากผู้นำอาเซียน  นอกจากรัฐบาลต่างๆจะสงวนสิทธิในการแต่งตั้งคนของตนเองเข้ามาเป็นกรรมการองค์กรสิทธิมนุษยชนแล้ว ผู้นำรัฐบาลอาเซียนยังปฏิเสธครึ่งหนึ่งของคณะ NGO ที่ต้องการเข้าพบและอนุญาตให้คนคนเดียวมิสิทธิ์พูด คือ อาจารย์สุริชัย  หวันแก้ว จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  สุริชัย  คนนี้คือใคร? เขาเป็นผู้ที่สนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยา และเป็นผู้ที่ คมช. แต่งตั้งเข้าสู่สภาของเผด็จการ  นอกจากนี้ทีมงาน NGO ไทย ประกอบไปด้วยคนที่สนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยา อีกหลายคน

ในพิธีเปิดองค์กรสิทธิมนุษชนของอาเซียน นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ เป็นคนปราศัย คนนี้เป็นนายกรัฐมนตรีเผด็จการ ที่ถือตำแหน่งจากการจัดการของทหาร  ที่เซ็นเซอร์สื่อ ที่จับคนบริสุทธิเข้าคุก ที่สั่งให้ทหารฆ่าประชาชน และที่มีส่วนในการก่อตั้งอันธพาลเสื้อสีน้ำเงิน  อภิสิทธิ์ได้โกหกและบิดเบือนความจริงตามเคย โดยอ้างว่าสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนสำคัญของสังคมที่พวกเขาต้องการสร้าง นอกจากนี้ก็พูดเชิงกล่อมเด็กว่าองค์กรประชาสังคมควรจะมั่นใจได้ว่ารัฐบาลของอาเซียน เป็นเพื่อนที่ดีของเขา

ทำไม NGO หลายส่วนถึงเดินตามแนวปัญญาอ่อนแบบนี้?  เขาโง่? เขาเป็นผู้ฉวยโอกาส? หรือเขาตาบอดเพราะวิเคราะห์อะไรไม่เป็น?

พวก  NGO นักล็อบบี้” ชอบอ้างว่าตัวเองเป็นตัวแทนของ “ประชาสังคม”  ทั้งๆที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งจากใคร องค์กร NGO หลายองค์กร ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งและการยกมือลงคะแนนเสียงอีกด้วย  พวกนี้ลืมว่า “ประชาสังคม” สามารถขยายพื้นที่ประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพต่อเมื่อมีการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีมวลชนจำนวนมาก  ขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะต้องต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการ และอภิสิทธิของคนชั้นสูงอีกด้วย

แทนที่จะเสียเวลาคุยกับผู้นำรัฐบาลต่างๆ NGO ควรจะใช้เวลาและทรัพยากรในการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวหรือการสนับสนุนขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่มีอยู่แล้ว เช่น คนเสื้อแดงในไทย หรือ ขบวนการต้านรัฐบาลในประเทศอื่นๆ

องค์กรสิทธิมนุษยชนที่ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิได้จริงจะต้องเป็นองค์กรที่ตัดขาดและอิสระจากรัฐบาล และองค์กรเหล่านี้จะต้องกล้าวิพากษ์วิจารณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบอีกด้วย ตัวอย่างที่ดีคือองค์กรสิทธิมนุษยชนเอเชียที่ฮ่องกง

หลัง “การล่มสลายของคอมมิวนิสต์” ขบวนการ NGO หันหลังให้กับ การเมือง  การสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และพรรคการเมือง  เขาหันไปเน้นเรื่องการล็อบบี้ผู้หลักผู้ใหญ่แทน และชื่นชมแนวความคิดชุมชนนิยมแบบอนาธิปไตย และทั้งๆ ที่สองแนวทางนี้ดูเหมือนขัดแย้งกันเพราะคลานไปกอดอำนาจรัฐและปฏิเสธอำนาจรัฐพร้อมๆกัน แต่จุดร่วมคือการปล่อยรัฐไว้และปฏิเสธการวิเคราะห์ภาพรวมทางการเมือง นี่คือสาเหตุที่ NGO สามารถหลับหูหลับตาถึงเผด็จการในอาเซียนได้

แทนที่จะสร้างขบวนการเคลื่อนไหวหรือพรรค NGO เน้นการเคลื่อนไหวประเด็นเดียว เขาดีใจเมื่อได้รับคำเชิญชวนเข้าไปในห้องประชุมกับผู้มีอำนาจ แทนที่จะหาทางทำลายอำนาจดังกล่าวของฝ่ายเผด็จการ การทำงานแบบนี้สอดคล้องกับการรับทุนจากองค์กรระหว่างประเทศ และนำไปสู่การทำงานที่ไร้การเมือง

ในประเด็นเรื่องโลกร้อน NGO ในไทย มองข้ามการที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และคิดว่าเผด็จการจะฟังประชาชน มีการใช้แนวชาตินิยมเพื่อเอาใจผู้มีอำนาจ ซึ่งทำให้มีการปัดความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาโลกร้อนไปสู่ประเทศตะวันตกโดยที่รัฐบาลในเอเชียไม่ต้องทำอะไร มันทำให้สร้างแนวร่วมกับขบวนการเคลื่อนไหวในตะวันตกยากขึ้น เพราะขบวนการในตะวันตกเข้าใจดีว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องรับผิดชอบมากที่สุดในการแก้ปัญหาโลกร้อน ประเด็นที่สำคัญคือเราจะจัดการกับกลไกตลาดที่แสวงหากำไร ทำลายโลก และสร้างความเหลื่อมล้ำอย่างไร

ในไทยและประเทศเอเซียอื่นๆ รัฐบาลจะต้องเก็บภาษีจากคนรวยและตัดงบประมาณทหารเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน  เราต้องการเทคโนโลยี่สมัยใหม่เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าแสงแดด กังหันลม ระบบคมนาคมขนส่งมวลชนที่ใช้ไฟฟ้า และบ้านที่อยู่อาศัยที่ใช้พลังงานด้วยประสิทธิภาพสูง เรื่องเหล่านี้ NGO ในไทย เงียบเฉยโดยที่พยายามหมุนกงล้อประวัติศาสตร์กลับไปสู่ยุคก่อนอุตสาหกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ยุคของ NGO ที่จะเป็นพลังก้าวหน้าในสังคมหมดสิ้นไปนานแล้ว  สำหรับนักเคลื่อนไหวที่ต้องการสร้างสังคมที่ดีขึ้น  จะต้องมีการทบทวนประวัติศาสตร์การต่อสู้ เพื่อหาทางใหม่ แต่สำหรับผู้ที่สนใจแต่จะกินเงินเดือนก็ควรจะอยู่ต่อไปในองค์กร NGO โดยไม่ทำอะไรใหม่ และหวังว่าแหล่งเงินทุนจะไม่หายไป

 

 


--
Giles Ji Ungpakorn
UK mobile:+44-(0)7817034432
UK landline +44(0) 1865-422117
http://siamrd.blog.co.uk/
http://wdpress.blog.co.uk/
http://redsiam.wordpress.com/
see YOUTUBE videos by Giles53





--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
You received this message because you are subscribed to the Google Groups "Food not Bombs Thailand" group.
To post to this group, send email to food-not-bombs-thailand@googlegroups.com
To unsubscribe from this group, send email to food-not-bombs-thailand+unsubscribe@googlegroups.com
For more options, visit this group at http://groups.google.com/group/food-not-bombs-thailand?hl=en
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---




--
ขอเชิญอ่าน  blog.Thank you so much.
chan
http://integration9.blogspot.com/ integration
http://sundara21.blogspot.com/      sandara
http://same111.blogspot.com/        culture
http://sea-canoe.blogspot.com/      seacanoe
www.pil.in.th

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตัวแทนหน่วยงานของรัฐต้องชี้แจงเรื่องเดียวกันซ้ำหลายครั้งหลายหนจนไม่เป็นอันทำงาน

วันที่ 06 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11532 มติชนรายวัน


แก้โรคขยันเกินของ ส.ส.


คอลัมน์ ข้าราษฎร

โดย สายสะพาย



ไม่ รู้ว่าเป็นนิสัยของ ส.ส.ที่แสดงให้เห็นว่าว่า มีอิทธิพลหรือเพราะขยันที่จะทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทย เพราะมักเกิดปรากฏการณ์เสมอว่า คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรจัดตั้งขึ้นหลายคณะ เรียกสอบสวนในเรื่องเดียวกัน ทำให้ตัวแทนหน่วยงานของรัฐต้องชี้แจงเรื่องเดียวกันซ้ำหลายครั้งหลายหนจนไม่เป็นอันทำงาน

เมื่อปลายเดือนกันยายน 2552 ที่ผ่านมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ออกระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดเรื่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) หลายคณะ พ.ศ.2552 (ลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 25 กันยายน 2552) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมีสาระสำคัญคือ

1.เมื่อ กมธ.จะดำเนินการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดให้ประธาน กมธ.ทุกคณะรายงานต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรทราบ ภายในวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ว่า มีเรื่องใดบ้างที่จะเข้าสู่การพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาของ กมธ.ตามอำนาจหน้าที่ในสัปดาห์ถัดไป

2.ให้ประธานสภาฯตรวจสอบรายงาน หากพบว่า มี กมธ.หลายคณะพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องเดียวกัน ให้มีการหารือร่วมกันระหว่างประธานสภาฯและประธาน กมธ.ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดวิธีดำเนินการ

ทั้งนี้ให้ กมธ.ที่เกี่ยวข้องยุติการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องนั้นไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการกำหนดวิธีการดำเนินการ

3.การหารือร่วมกันระหว่างประธานสภาฯและประธาน กมธ.ที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

(1)ให้ กมธ.ที่เกี่ยวข้องทุกคณะประชุมร่วมกัน เพื่อพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องนั้น โดยให้ประธาน กมธ.คณะใดคณะหนึ่งทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม และให้เชิญบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงและให้ข้อมูลแก่ กมธ.ในคราวเดียวกัน

(2)ให้ กมธ.ที่เกี่ยวข้องคณะใดคณะหนึ่งเป็นหลักในการพิจารณา โดยให้เชิญประธาน กมธ.คณะอื่นที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย หรือให้ กมธ.ที่เกี่ยวข้องฝากประเด็นให้ กมธ.ที่ได้รับมอบหมายให้พิจารณา เป็นผู้ซักถามจากบุคคลหรือหน่วยงานที่มาชี้แจงแทนได้

(3) แนวทางอื่น ตามที่ประธานสภาฯและประธาน กมธ.ที่เกี่ยวข้องเห็นชอบร่วมกัน

เมื่อได้มีการกำหนดแนวทางดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ประธานสภาฯแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

4. หาก ไม่สามารถกำหนดแนวทางดำเนินการร่วมกันได้ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่ต้องสงสัยว่าญัตติหรือเรื่องที่เสนอให้พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของ กมธ.หลายคณะ แล้วให้ประธานสภาฯและประธาน กมธ.ที่เกี่ยวข้องประชุมร่วมกัน เพื่อลงมติว่าจะให้ กมธ.คณะใดพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องนั้น และให้แจ้งมติที่ประชุมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป


หน้า 22

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ครป.แถลงการณ์ 4 ข้อ ค้านแก้รธน.โดยไม่ทำประชามติ-เลิกโยกย้ายไม่เป็นธรรม-หยุดคอรัปชั่น-ทำร้ายสถาบัน


วันที่ 04 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 16:46:36 น.  มติชนออนไลน์

ครป.แถลงการณ์ 4 ข้อ ค้านแก้รธน.โดยไม่ทำประชามติ-เลิกโยกย้ายไม่เป็นธรรม-หยุดคอรัปชั่น-ทำร้ายสถาบัน

ครป.แถลงการณ์4ข้อ ค้านแก้รธน.โดยไม่ทำประชามติ-เลิกโยกย้ายไม่เป็นธรรม-หยุดทำร้ายสถาบัน-คอรัปชั่น


เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) นำโดยนายพิทยา ว่องกุล รักษาการประธาน ครป. และนายสุริยันต์ ทองหนูเอียด รักษาการเลขาธิการ ครป. ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "ท่าที และข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีและสาธารณชนในสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน" โดยมีเนื้อหาระบุว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการต่อรองกดดันทางอำนาจ เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ของประเทศชาติประชาชนมาเป็นของตนเอง โดยกลุ่มการเมืองฝ่ายต่างๆ ทั้งพรรคร่วมรัฐบาล และนักการเมืองฝ่ายค้านที่แฝงไปด้วยเจตนาเพื่อโค่นล้มอำนาจ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หรือให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ หรือกดดันให้เกิดการยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ อันไม่เป็นไปตามวิถีแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวได้แสดงให้สาธารณชนรับรู้และรับทราบอย่างชัดเจนแล้ว นั้น ครป.ขอแถลงข้อเรียกร้องและท่าทีต่อนายกรัฐมนตรีและสาธารณชนต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้      
  

1.แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวาระนักเลือกตั้ง แต่เป็นเรื่องไร้สาระของประชาชน เราขอยืนยันว่ารัฐธรรมนูญ ปี 2550 ไม่ใช่ปัญหาของประเทศ และเป็นเรื่องไร้สาระของประชาชน และจากผลการสำรวจของสำนักโพลต่างๆ ทั้ง 6 ประเด็นก็เห็นตรงกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นประโยชน์กับประชาชนแต่อย่างใด ซึ่งเราเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 มีความก้าวหน้าต่อการเมืองภาคประชาชน ทั้งการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งเรื่องสิทธิของชุมชนและบุคคลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิในที่ อยู่อาศัยของคนจน เป็นต้น หากแต่ตลอดการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ "กฎหมายลูกไม่ได้แก้ กฎหมายแม่ไม่ได้ใช้" ทำให้เสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง อันเป็นอุปสรรคที่เกิดจากการไม่ทำหน้าที่ของบริหาร นิติบัญญัติ และความลักหลั่นของกระบวนการยุติธรรม อันเป็นหลักปัญหาของชาติขณะนี้ โดยเฉพาะวิกฤตที่เกิดจากนักการเมืองที่ไม่เคารพรัฐธรรมนูญและไม่ยอมรับการ บังคับใช้กฎหมาย และไม่ยอมรับการตรวจสอบจากภาคประชาชนและกระบวนการยุติธรรม


ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนต้องติดตามในกระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญอันวาระ ของนักเลือกตั้งขณะนี้ คือ เกมแย่งชิงอำนาจเพื่อประโยชน์ของนักการเมือง เพื่อการผูกขาดการเป็น ส.ส. ของพรรคการเมือง ผ่านการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อปิดบังปัญหาของประเทศและความเดือดร้อนของ ประชาชน
  

เราเห็นว่า การแก้รัฐธรรมนูญทั้งที่ผ่านมาในอดีตและที่กำลังจะแก้อยู่ในสถานการณ์ ปัจจุบันนี้ ไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักการเมืองชั่ว วงจรอุบาทว์ในวังวนของระบบรัฐสภา และการไม่เคารพหลักนิติรัฐ นิติธรรม โดยเฉพาะการไม่ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย “หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546” ดังนั้น ข้อเสนอการแก้รัฐธรรมนูญโดยนักการเมือง ยิ่งจะทำประเทศเร่งเข้าสู่วงจรวิกฤตอันเลวร้ายที่ไม่มีจุดสิ้นสุดแบบเดิม เพราะเมื่อนักการเมืองโกง ก็นำไปสู่เหตุผลของการรัฐประหาร และมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนเดิม ดังนั้น เราขอเรียกร้องต่อนักการเมืองให้หยุดความพยายามสร้างกระแสแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเบี่ยงเบนปัญหาของชาติบนประโยชน์ของตน
  

ครป.เห็นว่า หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ต้องทำเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงประชามติก่อนว่า ประชาชนต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ และหากจะแก้รัฐธรรมนูญจริง ควรทำประชาชมติว่า จะแก้ประเด็นอะไรบ้าง ไม่ใช่แก้ก่อนแล้วมัดมือชกประชาชนให้ทำประชามติตามข้อเสนอของนักการเมือง
  

2.การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ต้องยึดถือระบบคุณธรรม ผลงานและความอาวุโส ปัญหาของการบริหารราชการในการแต่งตั้งข้าราชการชั้นสูงในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ หรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินั้น สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การแต่งตั้งไม่ได้ยึดถือคุณธรรม หรือผลงาน หรือความเป็นอาวุโส ประการสำคัญทั้งหมดทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องการสนองตอบต่อนักการเมือง ไม่ได้สะท้อนถึงประโยชน์ของประเทศชาติประชาชน หากไม่เปลี่ยนพฤติกรรมเช่นนี้ ก็ยิ่งจะทำให้อำนาจของนักการเมืองเข้าไปครอบงำการทำงานของข้าราชการประจำจน ไม่สามารถสนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาประเทศชาติประชาชน และจะเป็นการรุกคืบอำนาจของฝ่ายการเมืองเข้ายึดครองระบบราชการอย่างเบ็ด เสร็จ ดังนั้น เราขอเรียกร้องต่อข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต้องแสดงความกล้า หาญที่จะโต้แย้ง คัดค้านและปฏิเสธในการใช้สิทธิปกป้องตนเอง โดย ครป.พร้อมที่สนับสนุนและยืนเคียงข้างกับข้าราชการทุกคนที่ยึดในหลักคุณธรรม ในการปฏิบัติหน้าที่
  

ทั้งนี้ เราขอเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีให้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงว่า อะไรคือปัญหาของการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงที่ผ่านมา โดยเฉพาะตำแหน่ง ผบ.ตร. เพราะประชาชนยังไม่รู้ข้อมูลอะไรเลยว่า ทำไมนายกรัฐมนตรีจึงบริหารอำนาจไม่ได้ ดังนั้น หากนายกรัฐมนตรีต้องการปฏิรูปสถาบันตำรวจ ซึ่งเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ก็ต้องให้ประชาชนมีส่วนในการสร้างธรรมภิบาลในองค์กรของรัฐ      
  

3.นายกรัฐมนตรีต้องใช้อำนาจเพื่อตรวจสอบและยับยั้งโครงการที่ไม่โปร่งใส โดยเร่งด่วน นับจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข้ง ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติมีมูลค่าทั้งหมด 1,431,330 ล้านบาท ที่ผ่านมานั้น พบมีความไม่โปร่งใส ไม่คุ้มทุนและไม่เหมาะสมกับเป้าหมายหลายๆ โครงการ ซึ่งบริษัทสัมปทานและบริวารนักการเมืองได้ประโยชน์มากกว่าเกิดการกระตุ้น เศรษฐกิจระดับครัวเรือน อีกทั้งหลายโครงการส่อว่าจะมีการทุจริตคอรัปชั่น ดังนั้น เราขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจเพื่อตรวจสอบและยับยั้งโครงการไทย เข้มแข็งที่มีพฤติการณ์ทุจริตไม่โปร่งใสเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม อย่างแท้จริง โดย ครป.จะเปิดศูนย์ประสานเพื่อรับเรื่องราวและข้อมูลเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสใน ทุกโครงการ
  

4.ต้องหยุดหนอนบ่อนไส้ หยุดขบวนการทำลายศรัทธาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กรณีที่ร้ายแรงที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งได้ปรากฏเป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง คือ ขบวนการมุ่งร้ายทำลายความศรัทธาต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะนักการเมืองบางคนที่ใช้อำนาจหน้าที่และสถานะแห่งตนกระทำตัว เสมือน “ไส้ศึก” เช่น กรณีเขาพระวิหาร อันจะมีผลให้ประเทศไทยต้องสูญเสียอาณาเขตดินแดน สถานะทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและเอกราชอธิปไตย เราขอเรียกร้องต่อประชาชนและนายกรัฐมนตรีให้ออกมาหยุดกระบวนการดังกล่าวโดย ผ่านกระบวนการยุติธรรม
  

ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาทั้งหมดย่อมอยู่ที่ปากของนายกรัฐมนตรี จะต้องบอกกับประชาชนอย่างไม่เกรงกลัวกับการต่อรอง และสถานะอำนาจแห่งตนว่า จะสามารถบริหารประเทศได้ต่อหรือไม่ เพื่อบอกกล่าวกับประชาชนถึงปัญหาข้อเท็จจริง กระบวนการที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่ง ครป.เชื่อมั่นโดยสุจริต หากนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศโดยยึดหลักคุณธรรมแล้ว ประชาชนพร้อมที่จะสนับสนุนและปกป้องถึงที่สุด

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1254648542&grpid=00&catid=no
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การตั้งพรรคการเมืองใหม่ชื่อว่า "พรรคคนดี"

วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11528 มติชนรายวัน


"บิ๊กจ๊อก"


คอลัมน์ ปิดไม่ลับ




มี นายทหารระดับสูงท่านหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย ซึ่งจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายนนี้ คือ "บิ๊กจ๊อก" พล.อ.จิรเดช คชรัตน์ รองผู้บัญชาการทหารบก นายทหารเตรียมรุ่น 9 ผู้ที่มีชีวิตราชการคว่ำหวอดอยู่ในกองทัพภาคที่ 3

"บิ๊กจ๊อก" เคยผ่านตำแหน่งสูงสุดในกองทัพภาคที่ 3 เป็นแม่ทัพภาคที่ 3 ต่อจาก "บิ๊กเปย" พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม ที่เข้าสู่ 5 เสือ ทบ. นั่งเก้าอี้ ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ควบเก้าอี้ผู้ช่วยเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ด้วยความที่ พล.อ.จิรเดชมีฐานการเมืองใน "ซีกเหนือตอนล่าง" ไม่น้อย ทั้งเคยปฏิบัติหน้าที่ด้านกิจการพลเรือนทัพภาค 3 ทำให้รู้จักคลุกคลีทั้งกับนักการเมืองและประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เพราะเป็นนักการเมือง จ.สุโขทัย เขตรับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 3

ทำ ให้เวลานี้ พล.อ.จิรเดชกำลังเนื้อหอมมีพรรคการเมืองเข้ามาทาบทามไม่น้อย ทั้งพรรคแม่พระธรณีบีบมวยผม และพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเจ้าตัวกำลังชั่งใจอยู่ 3 แนวทาง คือ
1.เข้าพรรคประชาธิปัตย์ แต่เจ้าตัวรู้สึกจะเซย์โน ด้วยรูปแบบการทำงานของพรรค
2.เข้าพรรคภูมิใจไทย ด้วยความที่สนิทกับนายสมศักดิ์ และความสนิทกับนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค ครั้งเคยร่วมเข้าเรียนหลักสูตรบริหารระดับสูงสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้แนวทางนี้เจ้าตัวกำลังให้ความสนใจ

แต่ พล.อ.จิรเดชยังวางแนวทางสุดท้าย คือ การตั้งพรรคการเมืองใหม่ชื่อว่า "พรรคคนดี" เชิญคนที่มีชื่อเสียงด้านดีในแต่ละจังหวัดเข้ามาอยู่ในพรรค ด้วยคอนเซ็ปท์ "ไม่ต้องการเลือกข้าง-ไม่ต้องการสร้างความขัดแย้ง"

จับตา...พรรคการเมืองใหม่พรรคนี้ให้ดี...


หน้า 11

ความเป็นไทยกับประชาธิปไตย : มุมมองเปรียบเทียบ

วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11528 มติชนรายวัน


ความเป็นไทยกับประชาธิปไตย : มุมมองเปรียบเทียบ


โดย เกษียร เตชะพีระ




ผมเจอข้อมูลที่น่าสนใจบางอย่าง อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง...

มัน มาจากหนังสือ How East Asians View Democracy (ชาวเอเชียตะวันออกมองประชาธิปไตยอย่างไร, ค.ศ.2008) ที่เพิ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และมีคณะนัก รัฐศาสตร์ชั้นนำของอเมริกาและไต้หวันเป็นบรรณาธิการ อาทิ ศาสตราจารย์ชูยุนฮัน แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันและวิทยาสถานจีน (Academia Sinica), ศาสตราจารย์แอนดรูว์ เจ. นาธาน แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานรวมเล่ม ชิ้นแรกของโครงการสำรวจวิจัยขนาดใหญ่ The Asian Barometer (ABS) ที่ส่งทีมนักวิชาการกว่า 30 คนออกสำรวจวิจัยทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับระบบการเมือง, อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย, การปฏิรูปและประชาธิปไตยในนานาประเทศเอเชีย 18 ประเทศ ประเทศละหนึ่งทีม โดยเริ่มมาตั้งแต่ ค.ศ.2000-ปัจจุบัน ภายใต้การอุดหนุนทางการเงินของกระทรวงศึกษาธิการไต้หวันและอำนวยการโดยคณะ รัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันและสถาบันรัฐศาสตร์แห่งวิทยาสถาน จีน

กล่าวเฉพาะหนังสือ How East Asians View Democracy นี้เป็นรายงานประมวลผลการสำรวจวิจัย ระลอกแรกของ The Asian Barometer จากปี ค.ศ.2001-2003 ซึ่งครอบคลุมประเทศในเอเชียตะวันออก 8 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็นระบอบประชาธิปไตยเกิดใหม่ 5 ประเทศ (เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, ไทย, มองโกเลีย), ระบอบประชาธิปไตยตั้งมั่น 1 ประเทศ (ญี่ปุ่น) และระบอบไม่ประชาธิปไตย 2 แห่ง (จีนและฮ่องกง) ดังตารางเวลาการสำรวจนี้: -

ประเทศ ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไทย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ จีนแผ่นดินใหญ่ มองโกเลีย

ช่วงเวลา มิ.ย.-ก.ค. ส.ค.-ต.ค. ก.ย.-ธ.ค. ต.ค.-พ.ย. ม.ค.-ก.พ. มี.ค.-เม.ย. มี.ค.-มิ.ย. ต.ค.-พ.ย.



สำรวจวิจัย 2001 2001 2003 2001 2002 2002 2002 2002

สำหรับ นักวิชาการไทยที่เข้าร่วมทีมสำรวจของ The Asian Barometer มาแต่ต้นได้แก่ ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาแห่งสถาบันพระปกเกล้า

การ สำรวจวิจัยเปรียบเทียบที่เตะตาน่าสนใจเป็นพิเศษคือประเด็นเรื่องค่านิยม ประชาธิปไตยในประเทศเหล่านี้ ดังปรากฏผลจำนวนร้อยละของผู้ให้คำตอบแบบประชาธิปไตยตามตาราง ก.นี้ : -



ทีม วิจัยตั้งคำถาม 8 ข้อต่อกลุ่มผู้ถูกสำรวจใน 8 ประเทศ คำถามแต่ละข้อสะท้อนแนวคิดหลัก ประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยและมีธงคำตอบที่บ่งชี้ว่าถ้าเห็นด้วยกับหลัก ประชาธิปไตยดังกล่าว น่าจะตอบว่าอย่างไร

ถึงแม้กาลจะล่วงเลยมาหลาย ปี แต่คำถามแหลมคมตรงประเด็นโดนใจและผลคำตอบเปรียบเทียบก็ผิด คาดชวนคิดพิจารณาต่อ ผมจึงขออนุญาตแปลเรียบเรียงคำถามและแสดงผลคำตอบเป็นไทยให้ดูชัดๆ ดังนี้: -

ค่านิยมประชาธิปไตยใน 8 ประเทศเอเชียตะวันออก (แสดงจำนวนร้อยละของผู้ให้คำตอบแบบประชาธิปไตย)

1) คนที่มีการศึกษาน้อยหรือไร้การศึกษาควรมีสิทธิมีเสียงทางการเมืองเท่ากับคน ที่มีการศึกษาสูง [หลักเสมอภาคทางการเมือง] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

90.3% 90.1% 72.2% 90.2% 91.6% 55.4% 83.0% 15.0% 73.5%



2) เมื่อตัดสินคดีสำคัญ ผู้พิพากษาควรยอมรับทรรศนะของฝ่ายบริหาร

[หลักแบ่งแยกอำนาจ] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

76.3% 55.2% 69.0% 66.6% 39.9% 38.7% 74.2% 40.3% 57.5%



3) ผู้นำรัฐบาลก็เหมือนหัวหน้าครอบครัว เราควรจะทำตามการตัดสินใจของท่าน

[หลักความพร้อมรับผิดของรัฐบาล] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

85.7% 67.3% 52.9% 66.1% 39.3% 47.5% 34.5% 41.8% 54.4%



4) รัฐบาลควรเป็นผู้ตัดสินว่าจะอนุญาตให้อภิปรายความคิดบางอย่างในสังคมหรือไม่

[หลักเสรีภาพทางการเมือง] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

70.3% 69.2% 60.1% 71.5% 36.8% 39.7% 23.2% 47.3% 52.3%



5) ถ้ารัฐบาลถูกสภานิติบัญญัติตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่มีทางทำงานใหญ่สำเร็จ

[หลักแบ่งแยกอำนาจ] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

62.1% 55.7% 53.8% 29.6% 55.4% 49.9% 41.3% 47.8% 49.4%



6) ถ้าเราได้ผู้นำการเมืองที่เป็นคนดีมีศีลธรรม เราก็ปล่อยให้ท่านตัดสินทุกอย่างได้ [หลักความพร้อมรับผิดของรัฐบาล] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

68.3% 60.5% 37.2% 62.4% 47.0% 46.9% 30.7% 25.1% 47.3%



7) ความสมัครสมานกลมเกลียวของชุมชนจะถูกทำลายลงถ้าผู้คนจัดตั้งกันเป็นกลุ่ม ฝ่ายต่างๆ มากมาย [หลักพหุนิยมทางการเมือง] (ธงคำตอบ : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

42.4% 52.1% 64.8% 38.1% 24.5% 46.2% 31.5% 16.2% 39.5%



8) ถ้าผู้คนมีวิธีคิดต่างๆ นานามากเกินไป สังคมจะปั่นป่วนวุ่นวาย

[หลักพหุนิยมทางการเมือง] (ธงคำตอบ : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

44.2% 45.2% 52.8๕% 25.0% 36.9% 43.4% 19.9% 23.7% 36.4%



สรุป : ร้อยละค่านิยมประชาธิปไตยของแต่ละประเทศและเฉลี่ยทั้งภูมิภาค

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

67.4% 61.9% 57.9% 56.2% 46.4% 46.0% 42.3% 32.1% 51.3%



ปรากฏ ว่า ไอ้หยา! ค่านิยมประชาธิปไตยของไทยเราอยู่บ๊วยรั้งท้ายโหล่สุดใน 8 ประเทศเอเชียตะวันออกเลยทีเดียว! ไอ้แพ้ประเทศประชาธิปไตยเด่นๆ อย่างญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ยังพอว่า แต่ดันมาแพ้เผด็จการคอมมิวนิสต์อย่างจีนหรือประชาธิปไตยเกิดใหม่เต๊าะแต๊ะ อย่างมองโกเลีย (เจงกีสข่าน!) แบบนี้ไม่รู้ว่าจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน

แต่ ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคำถาม-ผลคำตอบหลายข้อมันสะท้อนเงาความคิดการ เมืองแบบฉบับ ของไทยเราจริงๆ ไม่ว่าการประเมินคนที่ใบปริญญา, ทัศนคติเชิงศีลธรรมต่อผู้นำการเมือง, การมองบทบาท สภาฯ, การเน้นความสมานฉันท์สามัคคีเหนือการแบ่งกลุ่มแบ่งฝ่าย, ความหวาดระแวงการมองต่างมุม ฯลฯ

หรือว่า...หรือว่ามีธาตุอะไรบางอย่างในความเป็นไทยที่เอาเข้าจริงไปกันไม่ค่อยได้กับประชาธิปไตย?

(สำหรับ ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าข้อมูลการสำรวจและบทวิเคราะห์ของ The Asian Barometer ต่อ โปรดดู หนังสือข้างต้นหรือเว็บไซต์ www.asianbarometer.org/)


หน้า 6