ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

บทวิเคราะห์:การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทำอย่างไรให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย?


บทวิเคราะห์:การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทำอย่างไรให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย?
 

บทวิเคราะห์:

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ทำอย่างไรให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย?

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างชัดเจน และสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีเจตนารมณ์ที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อมตลอดจนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบการเมือง การปกครองของประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ความสำคัญดังกล่าว จึงเกิดกลไกหนึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้มีการขับเคลื่อนกระบวนการมีส่วน ร่วมของประชาชนให้เกิดเป็นรูปธรรม นั่นคือ คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน การส่งเสริมและเผยแพร่การเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข วิถีคิดและวิถีปฎิบัติที่เป็นประชาธิปไตย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ

ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายสาธารณะ และแนวทางผลักดัน

ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการมี ส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ.... นี้เป็นอีกหนึ่งในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเมืองอย่างสร้างสรรค์ โดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวน การนโยบายสาธารณะ พ.ศ.... ว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ มุ่งส่งเสริมและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่ต้องดำเนินการ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายสาธารณะ ควรพิจารณาควบคู่กับหลักความชอบธรรมในการดำเนินนโยบายของฝ่ายการเมืองที่มา จากการเลือกตั้งด้วย
ทั้งนี้ การขับเคลื่อนและผลักดันร่างพ.ร.บ.นี้ ควรมีการดำเนินการต่อเนื่องควบคู่กับร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการมีส่วนร่วมอีก 2 ฉบับในโครงการนี้ นั่นคือร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.... และร่าง พ.ร.บ.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอาจจัดทำเป็นชุดข้อมูลความรู้หรือการส่งต่อข้อมูล เพื่อใช้ในการเผยแพร่ และยังสามารถใช้เป็นตัวอย่างของการศึกษาเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนใน นโยบายสาธารณะ ตลอดจนใช้เพื่อต่อยอดในอนาคตได้ เพราะเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
"ในการดำเนินโครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการร่างกฎหมายครั้งนี้ สิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่งคือ ทุกเวทีที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจะมีประชาชนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม อย่างคึกคัก มีการเสนอแนะในประเด็นต่างๆ ขณะเดียวกันในเวทีการจัดสัมมนาจะมีทั้งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอ็นจีโอ เข้าร่วมและแสดงความคิดเห็น พร้อมเสนอแนะต่อร่างพ.ร.บ.อย่างน่าสนใจ ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าจะพิจารณาบทบาทและความเหมาะสม ในการผลักดันและขับเคลื่อนร่างพ.ร.บ.เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาต่อไป"

ข้อเด่นของร่างพระราชบัญญัติฯ

เป็นกฎหมายกลาง ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย สาธารณะ(Promote Participation in Policy Process)
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว หากกฎหมายดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ที่มีมาตรฐานในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนสูง กว่ากฎหมายฉบับนี้ ก็ให้บังคับตามกฎหมายเฉพาะนั้นๆ แต่มีมาตรฐานการมีส่วนร่วมน้อยกว่าก็ให้บังคับตามกฎหมายฉบับนี้
ยกเว้น การมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นให้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องกำหนดหลักเกณฑ์และกลไกว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้อง ถิ่นให้สอดคล้องและโดยคำนึงถึงมาตรฐานการมีส่วนร่วมตามกฎหมายว่าด้วยการมี ส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะฉบับนี้ด้วย
การมีกฎหมายกลางเช่นนี้ ทำให้ระบบการบังคับใช้และการตีความกฎหมายเป็นเอกภาพและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ อันแท้จริง ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการมีส่วนร่วม สามารถปฎิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง เพราะมีกฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้ง ซึ่งในอดีตนั้นไม่มีกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง แม้มีความพยายามยกร่างนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาจำนวนมากก็ตาม
กล่าวโดยสรุป ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ พ.ศ.... มีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบาย สาธารณะอย่างแท้จริง โดยกำหนดรับรองสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในขณะเดียวกันกำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการส่งเสริมและสนับ สนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยรูปแบบ วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม
ทั้ง นี้ กลไกสำคัญที่จะช่วยทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดขึ้นได้ และเป็นการมีส่วนร่วมที่มีความหมาย (Meaningful Participation) คือ คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ อีกทั้งมาตรการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือทั้งในส่วนของหน่วยงานของรัฐ ในฐานะผู้มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรงและ ประชาชนทั่วไปนั่นเอง

ชุติมา สุขวาสนะ เรียบเรียง

ชูชาติ เทศสีแดง บรรณาธิการ

 

 
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : ชุติมา สุขวาสนะ   Rewriter : ชูชาติ เทศสีแดง
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th



 วันที่ข่าว : 30 กันยายน 2552
http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255209300122&tb=N255209&news_headline=%BA%B7%C7%D4%E0%A4%C3%D2%D0%CB%EC:%A1%D2%C3%C1%D5%CA%E8%C7%B9%C3%E8%C7%C1%A2%CD%A7%C0%D2%A4%BB%C3%D0%AA%D2%AA%B9%B7%D3%CD%C2%E8%D2%A7%E4%C3%E3%CB%E9%E0%A1%D4%B4%A2%D6%E9%B9%A8%C3%D4%A7%E3%B9%CA%D1%A7%A4%C1%E4%B7%C2?

--
http://www.kmutnb.ac.th/index.htm
http://www.ecitthai.net
http://www.tourismthailand.org/seminar/
http://www.thaihotels.org/
http://www.tuasso.com/scripts/tua.asp
http://www.bangkokfilm.org
http://www.lek-prapai.org/
http://www.paper4trees.org/index1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น