ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความเป็นไทยกับประชาธิปไตย : มุมมองเปรียบเทียบ

วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11528 มติชนรายวัน


ความเป็นไทยกับประชาธิปไตย : มุมมองเปรียบเทียบ


โดย เกษียร เตชะพีระ




ผมเจอข้อมูลที่น่าสนใจบางอย่าง อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง...

มัน มาจากหนังสือ How East Asians View Democracy (ชาวเอเชียตะวันออกมองประชาธิปไตยอย่างไร, ค.ศ.2008) ที่เพิ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และมีคณะนัก รัฐศาสตร์ชั้นนำของอเมริกาและไต้หวันเป็นบรรณาธิการ อาทิ ศาสตราจารย์ชูยุนฮัน แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันและวิทยาสถานจีน (Academia Sinica), ศาสตราจารย์แอนดรูว์ เจ. นาธาน แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานรวมเล่ม ชิ้นแรกของโครงการสำรวจวิจัยขนาดใหญ่ The Asian Barometer (ABS) ที่ส่งทีมนักวิชาการกว่า 30 คนออกสำรวจวิจัยทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับระบบการเมือง, อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย, การปฏิรูปและประชาธิปไตยในนานาประเทศเอเชีย 18 ประเทศ ประเทศละหนึ่งทีม โดยเริ่มมาตั้งแต่ ค.ศ.2000-ปัจจุบัน ภายใต้การอุดหนุนทางการเงินของกระทรวงศึกษาธิการไต้หวันและอำนวยการโดยคณะ รัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันและสถาบันรัฐศาสตร์แห่งวิทยาสถาน จีน

กล่าวเฉพาะหนังสือ How East Asians View Democracy นี้เป็นรายงานประมวลผลการสำรวจวิจัย ระลอกแรกของ The Asian Barometer จากปี ค.ศ.2001-2003 ซึ่งครอบคลุมประเทศในเอเชียตะวันออก 8 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็นระบอบประชาธิปไตยเกิดใหม่ 5 ประเทศ (เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, ไทย, มองโกเลีย), ระบอบประชาธิปไตยตั้งมั่น 1 ประเทศ (ญี่ปุ่น) และระบอบไม่ประชาธิปไตย 2 แห่ง (จีนและฮ่องกง) ดังตารางเวลาการสำรวจนี้: -

ประเทศ ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไทย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ จีนแผ่นดินใหญ่ มองโกเลีย

ช่วงเวลา มิ.ย.-ก.ค. ส.ค.-ต.ค. ก.ย.-ธ.ค. ต.ค.-พ.ย. ม.ค.-ก.พ. มี.ค.-เม.ย. มี.ค.-มิ.ย. ต.ค.-พ.ย.



สำรวจวิจัย 2001 2001 2003 2001 2002 2002 2002 2002

สำหรับ นักวิชาการไทยที่เข้าร่วมทีมสำรวจของ The Asian Barometer มาแต่ต้นได้แก่ ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาแห่งสถาบันพระปกเกล้า

การ สำรวจวิจัยเปรียบเทียบที่เตะตาน่าสนใจเป็นพิเศษคือประเด็นเรื่องค่านิยม ประชาธิปไตยในประเทศเหล่านี้ ดังปรากฏผลจำนวนร้อยละของผู้ให้คำตอบแบบประชาธิปไตยตามตาราง ก.นี้ : -



ทีม วิจัยตั้งคำถาม 8 ข้อต่อกลุ่มผู้ถูกสำรวจใน 8 ประเทศ คำถามแต่ละข้อสะท้อนแนวคิดหลัก ประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยและมีธงคำตอบที่บ่งชี้ว่าถ้าเห็นด้วยกับหลัก ประชาธิปไตยดังกล่าว น่าจะตอบว่าอย่างไร

ถึงแม้กาลจะล่วงเลยมาหลาย ปี แต่คำถามแหลมคมตรงประเด็นโดนใจและผลคำตอบเปรียบเทียบก็ผิด คาดชวนคิดพิจารณาต่อ ผมจึงขออนุญาตแปลเรียบเรียงคำถามและแสดงผลคำตอบเป็นไทยให้ดูชัดๆ ดังนี้: -

ค่านิยมประชาธิปไตยใน 8 ประเทศเอเชียตะวันออก (แสดงจำนวนร้อยละของผู้ให้คำตอบแบบประชาธิปไตย)

1) คนที่มีการศึกษาน้อยหรือไร้การศึกษาควรมีสิทธิมีเสียงทางการเมืองเท่ากับคน ที่มีการศึกษาสูง [หลักเสมอภาคทางการเมือง] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

90.3% 90.1% 72.2% 90.2% 91.6% 55.4% 83.0% 15.0% 73.5%



2) เมื่อตัดสินคดีสำคัญ ผู้พิพากษาควรยอมรับทรรศนะของฝ่ายบริหาร

[หลักแบ่งแยกอำนาจ] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

76.3% 55.2% 69.0% 66.6% 39.9% 38.7% 74.2% 40.3% 57.5%



3) ผู้นำรัฐบาลก็เหมือนหัวหน้าครอบครัว เราควรจะทำตามการตัดสินใจของท่าน

[หลักความพร้อมรับผิดของรัฐบาล] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

85.7% 67.3% 52.9% 66.1% 39.3% 47.5% 34.5% 41.8% 54.4%



4) รัฐบาลควรเป็นผู้ตัดสินว่าจะอนุญาตให้อภิปรายความคิดบางอย่างในสังคมหรือไม่

[หลักเสรีภาพทางการเมือง] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

70.3% 69.2% 60.1% 71.5% 36.8% 39.7% 23.2% 47.3% 52.3%



5) ถ้ารัฐบาลถูกสภานิติบัญญัติตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่มีทางทำงานใหญ่สำเร็จ

[หลักแบ่งแยกอำนาจ] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

62.1% 55.7% 53.8% 29.6% 55.4% 49.9% 41.3% 47.8% 49.4%



6) ถ้าเราได้ผู้นำการเมืองที่เป็นคนดีมีศีลธรรม เราก็ปล่อยให้ท่านตัดสินทุกอย่างได้ [หลักความพร้อมรับผิดของรัฐบาล] (ธงคำตอบแบบประชาธิปไตย : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

68.3% 60.5% 37.2% 62.4% 47.0% 46.9% 30.7% 25.1% 47.3%



7) ความสมัครสมานกลมเกลียวของชุมชนจะถูกทำลายลงถ้าผู้คนจัดตั้งกันเป็นกลุ่ม ฝ่ายต่างๆ มากมาย [หลักพหุนิยมทางการเมือง] (ธงคำตอบ : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

42.4% 52.1% 64.8% 38.1% 24.5% 46.2% 31.5% 16.2% 39.5%



8) ถ้าผู้คนมีวิธีคิดต่างๆ นานามากเกินไป สังคมจะปั่นป่วนวุ่นวาย

[หลักพหุนิยมทางการเมือง] (ธงคำตอบ : ไม่เห็นด้วย)

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

44.2% 45.2% 52.8๕% 25.0% 36.9% 43.4% 19.9% 23.7% 36.4%



สรุป : ร้อยละค่านิยมประชาธิปไตยของแต่ละประเทศและเฉลี่ยทั้งภูมิภาค

ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย ไทย เฉลี่ย

67.4% 61.9% 57.9% 56.2% 46.4% 46.0% 42.3% 32.1% 51.3%



ปรากฏ ว่า ไอ้หยา! ค่านิยมประชาธิปไตยของไทยเราอยู่บ๊วยรั้งท้ายโหล่สุดใน 8 ประเทศเอเชียตะวันออกเลยทีเดียว! ไอ้แพ้ประเทศประชาธิปไตยเด่นๆ อย่างญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ยังพอว่า แต่ดันมาแพ้เผด็จการคอมมิวนิสต์อย่างจีนหรือประชาธิปไตยเกิดใหม่เต๊าะแต๊ะ อย่างมองโกเลีย (เจงกีสข่าน!) แบบนี้ไม่รู้ว่าจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน

แต่ ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคำถาม-ผลคำตอบหลายข้อมันสะท้อนเงาความคิดการ เมืองแบบฉบับ ของไทยเราจริงๆ ไม่ว่าการประเมินคนที่ใบปริญญา, ทัศนคติเชิงศีลธรรมต่อผู้นำการเมือง, การมองบทบาท สภาฯ, การเน้นความสมานฉันท์สามัคคีเหนือการแบ่งกลุ่มแบ่งฝ่าย, ความหวาดระแวงการมองต่างมุม ฯลฯ

หรือว่า...หรือว่ามีธาตุอะไรบางอย่างในความเป็นไทยที่เอาเข้าจริงไปกันไม่ค่อยได้กับประชาธิปไตย?

(สำหรับ ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าข้อมูลการสำรวจและบทวิเคราะห์ของ The Asian Barometer ต่อ โปรดดู หนังสือข้างต้นหรือเว็บไซต์ www.asianbarometer.org/)


หน้า 6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น