วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11486 มติชนรายวัน
นิรโทษฯ"เหลือง-แดง" วาระซ่อนเร้น "ภท." ราดน้ำมันบนกองไฟ
![]() |
ชัดเจนแล้วว่า ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2551 และระหว่างวันที่ 26 มีนาคม ถึงวันที่ 14 เมษายน 2552 พ.ศ. .... ของพรรคภูมิใจไทย
ที่มีนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวขบวน ยื่นต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร บิดาของนายเนวิน ชิดชอบ ผู้มีบารมีแห่งภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม
เข้าลักษณะ"ชงเอง กินเอง"นั้น
ไม่ได้สร้างความสมานฉันท์ตามความมุ่งหวังของร่างกฎหมาย
เพราะ"ตัวละคร"ในเหตุการณ์ ทั้ง กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มเสื้อแดง และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ตั้งท่าคัดค้านตั้งแต่เริ่มแรก
แกนนำ นปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ไม่เอาด้วย
เพราะไม่ไว้วางใจพรรคภูมิใจไทย กลัวว่าจะมีวาระซ่อนเร้น "ยืนยันว่าคดีของคนเสื้อแดงจะเอามาแลกกับคดีของคนเสื้อเหลืองไม่ได้ เพราะความผิดมันแตกต่างกัน กลุ่มคนเสื้อเหลืองมีโทษถึงขั้นประหารชีวิตจากการยึดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ขณะที่คนเสื้อแดงมีโทษเล็กน้อยจากการปิดถนนเท่านั้น"
ขณะที่นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่ม พธม. มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้
ความเห็นนายสุริยะใสน่าสนใจยิ่ง
"เป็นการเอาเรื่องความสมานฉันท์และความขัดแย้งของประชาชนมาเป็นข้ออ้างเท่านั้น และลึกๆ แล้วหวังนิรโทษกรรมให้กับข้าราชการประจำระดับสูงที่อิงแอบกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะนายตำรวจใหญ่ที่กำลังจะต้องรับผิดชอบในคดี 7 ตุลาคม 2551"
เมื่อตรวจสอบข่าวสารวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา มีสถานการณ์ที่ชวนให้สงสัยว่าสอดคล้องกับความเห็นนายสุริยะใสหรือไม่
กรณีที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เดินทางมาชี้แจงข้อกล่าวหาต่อ ป.ป.ช.ในคดีสลายม็อบ พมธ.เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่หน้ารัฐสภา
เนื่องจากมติ ป.ป.ช.ให้แจ้งข้อกล่าวหาผิดวินัยร้ายแรง และความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพิ่มเติม
จากมูลเหตุที่พบว่า มีคำสั่งเรื่องอำนาจการสั่งเคลื่อนกำลังพลในการดำเนินการกับกลุ่มผู้ชุมนุม
ซึ่งคำสั่งดังกล่าวจะต้องเป็นอำนาจการสั่งการของ ผบ.ตร.เพียงคนเดียวเท่านั้น
จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ พล.ต.อ.พัชรวาทต้องงัดพยานหลักฐานมาหักล้าง"ปม"นี้ให้ได้
ผลของคดีนี้จึงสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตข้าราชการตำรวจของ พล.ต.อ.พัชรวาท เป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ยังมีคนคิดไกลไปกว่านั้นว่า จะมีการ"รุก"ต่อ เข้าทำนองได้คืบจะเอาศอก
คือ ถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่านสภา จะมีการไต่ระดับไปออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับบรรดานักการเมืองที่ถูกดำเนินคดีต่างๆ อยู่ในขณะนี้ด้วย
และถ้าทบทวนกันให้ดีๆ จะเห็นว่า หลายพฤติกรรมของพรรคคนเสื้อสีน้ำเงินที่เสนอกฎหมายฉบับนี้ ยังขัดแย้งกับการส่งเสริมบรรยากาศสมานฉันท์ในสังคม
โดยเฉพาะการสั่งข้าราชการกระทรวงมหาดไทยภายใต้ร่มเงาของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตั้งโต๊ะรับลงชื่อคัดค้าน และถอนชื่อ การถวายฎีกา เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ให้แก่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนากรัฐมนตรี
ที่ได้ขยับเป้าจาก 10 ล้านรายชื่อ เป็น 20 คนล้านรายชื่อแล้ว
ถือเป็นการดิสเครดิต สมาชิกเสื้อแดง
ตอกลิ่มสงครามระหว่างสีเสื้อให้เข้มข้นยิ่งขึ้น
ดังนั้น จู่ๆ เมื่อภูมิใจไทย เสนอร่างกฎหมายฉบับนี้จึงสร้างความกังขาแก่คนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทยทันที ว่างานนี้ต้องมีอะไรแอบแฝง
ยิ่งบรรดานักกฎหมายทั้งหลาย ต่างกังวลว่า ถ้ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้จะยิ่งเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของประเทศ โดยเฉพาะศาลยุติธรรม
และสร้างแบบอย่างไม่ดีให้กับคนผิด เพราะเมื่อทำผิดแล้วก็มาออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตัวเองหรือพวกพ้อง
ถ้าพลพรรคภูมิใจไทยยังขืนดันทุรังผลักดันต่อไป เท่ากับราดน้ำมันลงไปในเปลวเพลิงแห่งความขัดแย้งในสังคมขณะนี้
เห็นรำไรแล้วว่า ร่างกฎหมายนี้น่าจะแท้งแน่
หน้า 3
ที่มีนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวขบวน ยื่นต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร บิดาของนายเนวิน ชิดชอบ ผู้มีบารมีแห่งภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม
เข้าลักษณะ"ชงเอง กินเอง"นั้น
ไม่ได้สร้างความสมานฉันท์ตามความมุ่งหวังของร่างกฎหมาย
เพราะ"ตัวละคร"ในเหตุการณ์ ทั้ง กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มเสื้อแดง และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ตั้งท่าคัดค้านตั้งแต่เริ่มแรก
แกนนำ นปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ไม่เอาด้วย
เพราะไม่ไว้วางใจพรรคภูมิใจไทย กลัวว่าจะมีวาระซ่อนเร้น "ยืนยันว่าคดีของคนเสื้อแดงจะเอามาแลกกับคดีของคนเสื้อเหลืองไม่ได้ เพราะความผิดมันแตกต่างกัน กลุ่มคนเสื้อเหลืองมีโทษถึงขั้นประหารชีวิตจากการยึดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ขณะที่คนเสื้อแดงมีโทษเล็กน้อยจากการปิดถนนเท่านั้น"
ขณะที่นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่ม พธม. มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้
ความเห็นนายสุริยะใสน่าสนใจยิ่ง
"เป็นการเอาเรื่องความสมานฉันท์และความขัดแย้งของประชาชนมาเป็นข้ออ้างเท่านั้น และลึกๆ แล้วหวังนิรโทษกรรมให้กับข้าราชการประจำระดับสูงที่อิงแอบกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะนายตำรวจใหญ่ที่กำลังจะต้องรับผิดชอบในคดี 7 ตุลาคม 2551"
เมื่อตรวจสอบข่าวสารวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา มีสถานการณ์ที่ชวนให้สงสัยว่าสอดคล้องกับความเห็นนายสุริยะใสหรือไม่
กรณีที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เดินทางมาชี้แจงข้อกล่าวหาต่อ ป.ป.ช.ในคดีสลายม็อบ พมธ.เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่หน้ารัฐสภา
เนื่องจากมติ ป.ป.ช.ให้แจ้งข้อกล่าวหาผิดวินัยร้ายแรง และความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพิ่มเติม
จากมูลเหตุที่พบว่า มีคำสั่งเรื่องอำนาจการสั่งเคลื่อนกำลังพลในการดำเนินการกับกลุ่มผู้ชุมนุม
ซึ่งคำสั่งดังกล่าวจะต้องเป็นอำนาจการสั่งการของ ผบ.ตร.เพียงคนเดียวเท่านั้น
จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ พล.ต.อ.พัชรวาทต้องงัดพยานหลักฐานมาหักล้าง"ปม"นี้ให้ได้
ผลของคดีนี้จึงสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตข้าราชการตำรวจของ พล.ต.อ.พัชรวาท เป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ยังมีคนคิดไกลไปกว่านั้นว่า จะมีการ"รุก"ต่อ เข้าทำนองได้คืบจะเอาศอก
คือ ถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่านสภา จะมีการไต่ระดับไปออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับบรรดานักการเมืองที่ถูกดำเนินคดีต่างๆ อยู่ในขณะนี้ด้วย
และถ้าทบทวนกันให้ดีๆ จะเห็นว่า หลายพฤติกรรมของพรรคคนเสื้อสีน้ำเงินที่เสนอกฎหมายฉบับนี้ ยังขัดแย้งกับการส่งเสริมบรรยากาศสมานฉันท์ในสังคม
โดยเฉพาะการสั่งข้าราชการกระทรวงมหาดไทยภายใต้ร่มเงาของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตั้งโต๊ะรับลงชื่อคัดค้าน และถอนชื่อ การถวายฎีกา เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ให้แก่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนากรัฐมนตรี
ที่ได้ขยับเป้าจาก 10 ล้านรายชื่อ เป็น 20 คนล้านรายชื่อแล้ว
ถือเป็นการดิสเครดิต สมาชิกเสื้อแดง
ตอกลิ่มสงครามระหว่างสีเสื้อให้เข้มข้นยิ่งขึ้น
ดังนั้น จู่ๆ เมื่อภูมิใจไทย เสนอร่างกฎหมายฉบับนี้จึงสร้างความกังขาแก่คนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทยทันที ว่างานนี้ต้องมีอะไรแอบแฝง
ยิ่งบรรดานักกฎหมายทั้งหลาย ต่างกังวลว่า ถ้ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้จะยิ่งเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของประเทศ โดยเฉพาะศาลยุติธรรม
และสร้างแบบอย่างไม่ดีให้กับคนผิด เพราะเมื่อทำผิดแล้วก็มาออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตัวเองหรือพวกพ้อง
ถ้าพลพรรคภูมิใจไทยยังขืนดันทุรังผลักดันต่อไป เท่ากับราดน้ำมันลงไปในเปลวเพลิงแห่งความขัดแย้งในสังคมขณะนี้
เห็นรำไรแล้วว่า ร่างกฎหมายนี้น่าจะแท้งแน่
หน้า 3
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01col01210852§ionid=0116&day=2009-08-21
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น