ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทบาทสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสภากระจกของประเทศไทย

ข่าวประจำวัน News Clipping
หัวข้อข่าว บทบาทสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสภากระจกของประเทศไทย
ที่มา พิมพ์ไทย
เนื้อหาฉบับเต็ม
คอลัมน์:คุยสบายสไตล์
  บทบาทสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสภากระจกของประเทศไทย

          สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระภาคประชาชน ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2540  โดยพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.2543 เพื่อสะท้อนภาพทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมิใช่เป็นองค์กรเพื่อต่อรองผลประโยชน์ของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใด
          ที่มาของสภาที่ปรึกษาฯ ประกอบด้วยสภาชิกจำนวน 99 คน ซึ่งได้รับเลือกจากบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มต่างๆ ในภาคเศรษฐกิจ และกลุ่มในภาคสังคมฐานทรัพยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ อำนาจหน้าที่สำคัญ ได้แก่ การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อ คณะรัฐมนตรีในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งให้ความเห็นต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่นที่กฎหมายกำหนด
          แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีความสำคัญเพราะก่อนที่รัฐบาลทุกรัฐบาลจะเข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบก่อนและสิ่งสำคัญที่จะต้องระบุไว้ในคำแถลงนโยบายที่ทุกรัฐบาลต้องกระทำก็คือ สิ่งที่รัฐบาลต้องวางนโยบายที่สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งได้ถูกบัญญัติไว้ในหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ตั้งแต่มาตรา 71-89 ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้รัฐต้องปฏิบัติต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ต่างประเทศ เป็นต้น
          เพื่อให้บทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ สามารถดำเนินการเพื่อให้เจตนารมณ์ตามบทบัญญัติประสบความสำเร็จรัฐธรรมนูญจึงได้มีบทบัญญัติ มาตรา 89 ขึ้นมารองรับการดำเนินการตามหมวดนี้ โดยบัญญัติไว้ว่า"เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหมวดนี้ ให้รัฐจัดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อ คณะรัฐมนตรี ในประเด็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ต้องให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความเห็นก่อนพิจารณาประกาศใช้ องค์ประกอบ ที่มา อำนาจหน้าที่ และการดำเนินงานของของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ"
          สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงเป็นองค์กรที่สะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในทางการเมือง (Political Participation) ของประชาชน ถึงแม้ว่าหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาฯจะมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งทำหน้าที่ในการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็ตาม แต่ก็ทำหน้าเป็น"เสมือนกระจกเงา" (Mirror) ในการสะท้อนการทำงานของรัฐบาลและเป็นสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนโดยตรง จากตัวแทนของกลุ่มต่างๆ ผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          สิ่งที่เป็นสาระสำคัญของบทบัญญัติดังกล่าวคือ การที่รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับซึ่งมาตราดังกล่าวถือเป็นเจตนารมณ์สำคัญของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน และ สภาที่ปรึกษา ก็เป็นกลไกอันหนึ่งที่ทำให้เจตนารมณ์ดังกล่าวของรัฐธรรมนูญบรรลุผล
          การมีส่วนร่วมในทางการเมืองและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ นับเป็นตัวบ่งชี้(Indicator)หนึ่งของความเป็นประชาธิปไตย ประเทศในระบอบเผด็จการมักจะไม่เปิดโอกาสให้มีกระบวนการดังกล่าวข้างต้นเท่าใดนัก ประเทศไทยสมัยที่มีการปกครองแบบเผด็จการ โอกาสที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทางการเมืองมีน้อยมาก ถึงแม้มีรัฐสภาก็ไม่มีอำนาจมากพอที่คานอำนาจกับฝ่ายบริหารได้และบางครั้งก็อาจถูกแปรรูปไปเป็นเพียงสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งใช้เวลาในการร่างนานถึง10 ปี (พ.ศ.2502-2512) เช่นในสมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้น การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนได้กลายเป็นส่วนเกินของระบอบการปกครองเช่นนี้พร้อมๆ กับการใช้อำนาจโดยพลการของผู้ปกครองโดยไม่มีองค์กรใดเข้ามาควบคุมดูแล
          ภายใต้สถานการณ์การคลี่คลายทางการเมืองไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ความจำเป็นที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคสังคมในการกำหนดแนวนโยบายของรัฐเริ่มมีมากขึ้น ถึงแม้จะไม่สมบูรณ์ก็ตาม ในสมัยของพลเอกเปรมติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน (กรอ.) ซึ่งนับเป็นอ.โรจนศักดิแสงศิริวิไลให้โอกาสแก่ภาคสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นครั้งแรก แต่การจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าวก็ยังไม่เปิดโอกาสให้ส่วนอื่นๆ ของภาคสังคมที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจเช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มคนยากจนและกลุ่มอาชีพอื่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย จึงนับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนยังเกิดขึ้นไม่เต็มที่ ภายใต้ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยแบบครึ่งใบเช่นเดียวกันภายหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 ซึ่งมีองค์กรอิสระภาคประชาชนที่สนองตอบต่อการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐมากมายและหนึ่งในนั้นคือ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งก็นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาทางการเมืองไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และความเป็นประชาธิปไตยจะมากขึ้นเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการทำงานของสภาที่ปรึกษาฯ ด้วยว่าจะมีประสิทธิภาพเป็นตัวแทนและเป็นปากเสียงของประชาชนในระดับรากหญ้า (Grass root) มากน้อยเพียงใดดังนั้นต้องติดตามการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯต่อไปว่าจะดำเนินงานที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ตั้งไว้หรือไม่.--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย


วันที่ของข่าว 01 สิงหาคม 2552
เอกสารฉบับ PDF ไม่มีข้อมูล
ผู้รับผิดชอบข้อมูล กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
โทรศัพท์  0-2612-9222#119 E-mail  -
หมายเหตุ   -
 
จำนวนผู้เข้าชม 11 ครั้ง
 


สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
128 อาคารพญาไท พลาซ่า ชั้น 27 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
หรือ ตู้ ปณ. 27 ปณฝ. ราชเทวี กรุงเทพฯ 10401 โทร. 0-2612-9222 (50 คู่สาย) โทรสาร 0-2216-5222-3
e-mail : webmaster@nesac.go.th , www.nesac.go.th    
 
 
Warning: The Image on this site are protected by digital watermark technology. Copyright © 2004 Office of the National Economic and Social Advisory Council (ONESAC). All rights reserved .Reproduction in whole or in part in any form or medium without express written permission of ONESAC is prohibited.
 
Thailand Web Stat


--
ขอเชิญอ่าน  blog.Thank you so much.
http://www.blognone.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://dbd-52.hi5.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น