ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โจทย์ใหม่กับการลดการแบ่งขั้ว

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 20:30:13 น.  มติชนออนไลน์
 


โจทย์ใหม่กับการลดการแบ่งขั้ว

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

ช่วงที่ผ่านมามีความพยายามจากฝ่ายต่างๆที่จะตั้งโจทย์และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แตกแยก แบ่งขั้ว แบ่งฝ่ายที่เกิดขึ้นในทางการเมืองและสังคม  แต่ส่วนใหญ่มักตั้งโจทย์แคบๆ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา  การออกกฎหมายนิรโทษกรรมฯลฯ ซึ่งข้อเสนอต่างๆเน้นไปที่ผลประโยชน์ของนักการเมืองเป็นหลัก


เมื่อเร็วๆนี้สำนักงานกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย(สกว.)มอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ที่ดีอาร์ไอ)ทำวิจัยในหัวข้อ"การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง"ซึ่งข้อเสนอการวิจัยดังกล่าวได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจ จึงขอสรุปแนวคิดที่ปรากฎอยู่ในเอกสารดังกล่าวนำเสนอโดยสังเขป


ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ


ในด้านหนึ่งเศรษฐกิจผูกขาด เช่น ระบบสัมปทานต่างๆ ซึ่งอิงกับอำนาจรัฐ ก่อให้เกิดส่วนเกินทางเศรษฐกิจหรือค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (economic rent) มหาศาลและชักนำให้นักธุรกิจหลายกลุ่มที่มีแหล่งรายได้หลักจากสัมปทานเข้าสู่อำนาจทางการเมือง และได้รับชัยชนะในระบบการเลือกตั้งที่มีการใช้เงินทุนสูง


ในอีกด้านหนึ่ง ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจในระดับที่สูง และการที่ประเทศไทยมีแรงงานในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ จำนวนมาก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ขาดสวัสดิการที่ได้รับจากการทำงาน และต้องการความช่วยเหลือจากรัฐทั้งในด้านสาธารณสุข การศึกษา การเข้าถึงสินเชื่อ ฯลฯ


ปัจจัยทั้ง2 ด้านทำให้นักการเมืองบางกลุ่ม ประสบความสำเร็จในทางการเมืองอย่างสูงโดยใช้ "นโยบายประชานิยม" ซื้อใจคนจนและคนชั้นกลางระดับล่าง


นอกจากนั้นก็อาศัยอำนาจการเมืองที่ได้จากการเลือกตั้งมาใช้ปกป้อง เพิ่มพูนผลประโยชน์ทางธุรกิจ และสร้างอำนาจผูกขาดให้ธุรกิจของพวกพ้อง ตลอดจนแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจจากนโยบายสาธารณะและมาตรการต่างๆ ของรัฐ ทั้งในระบบงบประมาณ และนอกระบบงบประมาณ


ปัญหาการผูกขาดและความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจจึงมีผลกระทบโดยตรง รวมถึงการใช้ "นโยบายประชานิยม" แบบขาดวินับทางการคลัง ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ทำให้ระบบประชาธิปไตยของไทยไม่สามารถลงหลักปักฐานได้อย่างมีเสถียรภาพ 


ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเพื่อลดส่วนเกินและลดความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากการปฏิรูปกฎกติกาและสถาบันทางการเมืองอย่างที่เคยดำเนินการมา


เอกสารได้ยกตัวอย่างผลงานวิจัยในต่างประเทศหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่า การปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยอย่างมั่นคงจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนกลุ่มต่างๆได้ ซึ่งทำได้โดยการลดความร่ำรวยมหาศาลที่กระจุกตัวในคนกลุ่มน้อยจากการได้รับส่วนเกินทางเศรษฐกิจต่างๆควบคู่ไปกับเพิ่มรายได้และสวัสดิการสังคมให้คนจนและคนชั้นกลางระดับล่าง โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนนโยบายประชานิยมไปสู่การให้สวัสดิการพื้นฐานตามแนวคิดของรัฐสวัสดิการ


อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงจะต้องไม่รุนแรงเกินไปจนก่อให้เกิดความขัดแย้งใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการล้มกระดานของชนชั้นสูงที่เห็นว่า ระบบประชาธิปไตยทำให้ตนต้องเกิดความสูญเสียมากกว่าทางเลือกอื่น ซึ่งการโอนถ่ายทรัพยากรระหว่างกลุ่มคนไม่มากเกินไป เช่น ต้องไม่กระทบระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากการถูกยึดทรัพย์ โดยไม่มีเหตุผลสมควร ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่น้อยเกินไปสำหรับคนจนและคนชั้นกลางระดับล่าง


นอกจากนี้ กระบวนการดังกล่าวต้องมีความชอบธรรม เช่น ไม่ปิดโอกาสในการสร้างฐานะจากการทำงานโดยสุจริต แต่ลดโอกาสในการแสวงหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


ขณะเดียวกัน รัฐสวัสดิการจะคงอยู่รอดได้ หากเศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน จากการที่ภาคการผลิตมีการยกระดับผลิตภาพ (production upgrading) อย่างต่อเนื่องและการใช้จ่ายของรัฐถูกควบคุมอยู่ภายใต้กรอบทางการคลังที่โปร่งใสและมีวินัย


งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกระจุกตัวของทรัพย์สินกับการกระจุกตัวของอำนาจการเมือง โดย การจัดทำแผนที่ของค่าเช่าทางเศรษฐกิจ การนำเสนอแนวนโยบายการลดหรือการควบคุมค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการจำกัดพฤติกรรมดังกล่าวที่จะเป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจและการเมือง


ส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจที่จะหยิบยกมาศึกษามีด้วยกัน 5 ด้านได้แก่ การผูกขาดทางเศรษฐกิจ  การแทรกแซงตลาด เช่น ตลาดสินค้าเกษตร การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง/สัมปทานของรัฐ การใช้อิทธิพลในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ การปั่นหุ้นและการใช้ข้อมูลลวงในตลาดหลักทรัพย์


นอกจากนั้นจะศึกษาเรื่องมาตรการการคลังเพื่อความเป็นธณรมทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย


อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้จะมีประโยชน์ ต้องมีการผลักดันให้ผู้นำทางการเมืองนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้เกิดผลด้วย

  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1250859246&grpid=no&catid=02

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น