ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตัวแทนหน่วยงานของรัฐต้องชี้แจงเรื่องเดียวกันซ้ำหลายครั้งหลายหนจนไม่เป็นอันทำงาน

วันที่ 06 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11532 มติชนรายวัน


แก้โรคขยันเกินของ ส.ส.


คอลัมน์ ข้าราษฎร

โดย สายสะพาย



ไม่ รู้ว่าเป็นนิสัยของ ส.ส.ที่แสดงให้เห็นว่าว่า มีอิทธิพลหรือเพราะขยันที่จะทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทย เพราะมักเกิดปรากฏการณ์เสมอว่า คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรจัดตั้งขึ้นหลายคณะ เรียกสอบสวนในเรื่องเดียวกัน ทำให้ตัวแทนหน่วยงานของรัฐต้องชี้แจงเรื่องเดียวกันซ้ำหลายครั้งหลายหนจนไม่เป็นอันทำงาน

เมื่อปลายเดือนกันยายน 2552 ที่ผ่านมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ออกระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดเรื่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) หลายคณะ พ.ศ.2552 (ลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 25 กันยายน 2552) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมีสาระสำคัญคือ

1.เมื่อ กมธ.จะดำเนินการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดให้ประธาน กมธ.ทุกคณะรายงานต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรทราบ ภายในวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ว่า มีเรื่องใดบ้างที่จะเข้าสู่การพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาของ กมธ.ตามอำนาจหน้าที่ในสัปดาห์ถัดไป

2.ให้ประธานสภาฯตรวจสอบรายงาน หากพบว่า มี กมธ.หลายคณะพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องเดียวกัน ให้มีการหารือร่วมกันระหว่างประธานสภาฯและประธาน กมธ.ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดวิธีดำเนินการ

ทั้งนี้ให้ กมธ.ที่เกี่ยวข้องยุติการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องนั้นไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการกำหนดวิธีการดำเนินการ

3.การหารือร่วมกันระหว่างประธานสภาฯและประธาน กมธ.ที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

(1)ให้ กมธ.ที่เกี่ยวข้องทุกคณะประชุมร่วมกัน เพื่อพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องนั้น โดยให้ประธาน กมธ.คณะใดคณะหนึ่งทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม และให้เชิญบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงและให้ข้อมูลแก่ กมธ.ในคราวเดียวกัน

(2)ให้ กมธ.ที่เกี่ยวข้องคณะใดคณะหนึ่งเป็นหลักในการพิจารณา โดยให้เชิญประธาน กมธ.คณะอื่นที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย หรือให้ กมธ.ที่เกี่ยวข้องฝากประเด็นให้ กมธ.ที่ได้รับมอบหมายให้พิจารณา เป็นผู้ซักถามจากบุคคลหรือหน่วยงานที่มาชี้แจงแทนได้

(3) แนวทางอื่น ตามที่ประธานสภาฯและประธาน กมธ.ที่เกี่ยวข้องเห็นชอบร่วมกัน

เมื่อได้มีการกำหนดแนวทางดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ประธานสภาฯแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

4. หาก ไม่สามารถกำหนดแนวทางดำเนินการร่วมกันได้ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่ต้องสงสัยว่าญัตติหรือเรื่องที่เสนอให้พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของ กมธ.หลายคณะ แล้วให้ประธานสภาฯและประธาน กมธ.ที่เกี่ยวข้องประชุมร่วมกัน เพื่อลงมติว่าจะให้ กมธ.คณะใดพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องนั้น และให้แจ้งมติที่ประชุมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป


หน้า 22

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น